งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ



งานวิจัยล่าสุด

ผลกระทบของ AI ต่อรูปแบบการเรียนการสอน และบทบาทของครูในยุคดิจิทัล

เรื่อง ผลกระทบของ AI ต่อรูปแบบการเรียนการสอนและบทบาทของครูในยุคดิจิทัล ผู้วิจัย นางสาวปวิตรา มังพรมมา สถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ ปีการศึกษา 2567 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเรียนการสอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ประกอบด้วยครู 3 คน (20%) และนักศึกษา 12 คน (80%) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่าทุกคน (100%) ใช้ AI ในการเรียนการสอน โดยมีการนำ AI มาใช้ในการช่วยสอน การวิเคราะห์ผลการเรียน และการปรับเนื้อหาการเรียน ทั้งนี้ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน ประหยัดเวลา และสร้างการเรียนรู้ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่าทุกคนเห็นว่า AI มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนครูในยุคดิจิทัล โดยช่วยให้ครูสามารถให้คำแนะนำและแนะแนวการใช้ AI ในการเรียนการสอนได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ไม่มีผู้ใดมองว่า AI จะลดบทบาทของครูลง นอกจากนี้ ทุกคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี AI จะมีผลกระทบอย่างมากต่อวิธีการเรียนการสอน และครูควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปรับตัวและใช้ AI ในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยพบว่า AI มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพของการเรียนการสอน โดยช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทบาทของครูยังคงมีความสำคัญในการดูแลและแนะแนวการใช้ AI แทนที่จะถูกลดทอน นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือ AI ที่เหมาะสมกับการศึกษา การอบรมครูให้สามารถใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของนักเรียนในการใช้งาน AI ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา


เผยแพ่เมื่อ: Mar 13, 2025 โดย: pawittra456 Download

วิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบบทบาทสมมติ


เผยแพ่เมื่อ: Mar 13, 2025 โดย: นฤมล จันทรเสนา Download

ชุดฝึกการพัฒนาทักษะการต่อวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์

การทําวิจัยครั้งนี้ เพื่อเป็นการศึกษาและพัฒนาทักษะการต่อวงจรในเรื่อง “วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์” วงจรพัลส์และดิจิทัล (20105-2003) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ การทําวิจัยในชั้นเรียนการพัฒนาทักษะการต่อวงจรวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนรายวิชาวงจรพัลส์และดิจิทัล (20105-2003) เรื่อง วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ การสอนแบบการใช้ชุดฝึกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้น ปีที่ 1 ช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีทักษะการต่อวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ชุดฝึกการต่อวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์และใบงานการทดลอง ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1. จากผลการประเมินคุณภาพของชุดฝึกการพัฒนาทักษะการต่อวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ ระดับชั้น ปวช.1 แผนกอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คะแนนในการประเมินใน ภาพรวม พบว่าชุดฝึก อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของการประเมินเท่ากับ 4.90 และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.52 2. จากผลการประเมินผลความพึงพอใจของผู้เรียน จํานวน 7 คน คะแนนในการประเมิน ในภาพรวม พบว่า คะแนนในการประเมินในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของ การประเมินเท่ากับ 4.35 คิดเป็นร้อยละ 91.20 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกการพัฒนาทักษะ การต่อวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์พบว่า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อย ละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 54.791 โดยคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 37.3845 และ 57.868 ตามลําดับอาจเนื่องมาจากใช้ชุดชุดฝึกการพัฒนาทักษะการต่อ วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์การเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบน่าสนใจ


เผยแพ่เมื่อ: Mar 11, 2025 โดย: ศุภชัย หอมหวล Download

การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกวงจรไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ดังนี้ ในการวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อให้การเรียนการสอนในระบบการเรียนการสอนมีมากมายหลายรูปแบบ จุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านด้านวิชาการ ด้านทักษะกระบวนการ ด้านความรู้ความสามารถ เพื่อให้นักเรียนได้มีความสามารถทางด้านวงจรไฟฟ้า เพื่อให้นักเรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายกับการเรียนการสอนแบบเก่า ๆ จึงได้นาการเรียนการสอนแบบผ่านชุดฝึกวงจรไฟฟ้ามาให้นักเรียนได้ลองใช้เพื่อจะได้คุ้นเคย ในการวิจัยได้ทาเป็นขั้นตอนและเป็นที่สนใจของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ


เผยแพ่เมื่อ: Mar 11, 2025 โดย: นายสุริยาพิจารณ์ Download

การศึกษาเจตคติและแรงจูงใจต่อการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาชั้นปวส. ปีที่ 2 แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนที่ 2/2567

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยใน ห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้น ปวส.2 แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้น ปวส. ปีที่ 2 แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 13 คน โดยให้นักศึกษาทำแบบสอบถามวัดเจตคติจำนวน 15 ข้อ ที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 13 ฉบับ จากนั้นจึงทาการวิเคราะห์ผลคะแนนโดยใช้วิธีการ หาค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 3.26 ซึ่งแปลความได้ ว่านักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียน และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์


เผยแพ่เมื่อ: Mar 06, 2025 โดย: นายสันติ ภาคะ Download